วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเพิ่มขีดความสามารถของคำสั่งแก้ไขข้อมูล

           ส่วนติดต่อผู้ใช้ยังมีส่วนที่ขยายขีดความสามารถในคำสั่งแก้ไขข้อมูล (editing command) อยู่ด้วย ซึ่งเป็นการกำหนดค่าให้แก่ฟังก์ชันคีย์ต่างๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะแก้ไขคำสั่งที่ป้อนเข้าไปได้ในขณะที่กำลังพิมพ์คำสั่งนั้น
Command
Description
Ctrl+a
Moves to the beginning of the command line
Ctrl+e
Moves to the end of the command line
Esc+b
Moves back one word
Ctrl+f (or right arrow)
Moves forward one character
Ctrl+b (or left arrow)
Moves back one character
Esc+f
Moves forward one word
           ตารางแสดงรายการคำสั่งที่ใช้การกดแป้นพิมพ์เพื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งข้อความ (cursor) ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้เพื่อทำการแก้ไขข้อความ ณ ตำแหน่งนั้นให้ถูกต้องก่อนที่จะป้อนให้ Router ประมวลผล แม้ว่าส่วนขยายขีดความสามารถในคำสั่งแก้ไขข้อมูลนี้จะได้รับการกำหนดขึ้นมาใช้งานโดยอัตโนมัติในซอฟต์แวร์รุ่นปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถที่จะยกเลิกการใช้ส่วนขยายขีดความสามารถนี้ได้ด้วยการป้อนคำสั่ง “terminal no editing” เมื่ออยู่ในสถานะ privileged EXEC mode
             
            ชุดคำสั่งในการแก้ไขข้อมูลช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลื่อน “scrolling” คำสั่งต่างๆ ที่อยู่ในบรรทัดหนึ่งบนหน้าจอภาพได้ เมื่อเครื่องหมายชี้ตำแหน่ง (cursor) ชี้ที่ตำแหน่งขวาสุด คำสั่งในบรรทัดนั้นจะเลื่อนไปทางซ้าย  10 ตัวอักษร โดยอัตโนมัติ ตัวอักษรทางซ้ายสุด 10 ตัวอักษรนั้นจะไม่ปรากฎอยู่บนจอภาพอีกต่อไป แต่ผู้ใช้สามารถที่จะเลื่อนคำสั่งในบรรทัดกลับมาที่ตำแหน่งเดิมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งในบรรทัดนั้นได้ ผู้ใช้สามารถกดแป้น “Ctrl+b” หรือใช้แป้นลูกศรชี้ไปทางซ้ายซ้ำกันหลายๆครั้งเพื่อเลื่อน cursor กลับไปที่ตำแหน่งซ้ายสุดของข้อความบรรทัดนั้น หรือใช้แป้น “Ctrl+a” ก็จะนำcursor กลับไปที่ตำแหน่งซ้ายสุดของข้อความในบรรทัดนั้นในทันที
               
            ในคำสั่งต่อไปนี้ คำสั่งที่ป้อนเข้าไปนั้นยาวเกินกว่าที่จะแสดงให้เห็นทั้งหมดในบรรทัดเดียวกันได้
             Cisco>$ value for our customer, employees, investor and partners
               
 เมื่อ cursor ชี้ไปที่ตำแหน่งขวาสุดของบรรทัดนี้ บรรทัดนี้จะถูกเลื่อนไปทางซ้าย 10 ตัวอักษร โดยอัตโนมัติ เครื่องหมาย “$” ที่ตอนต้นของบรรทัดคำสั่งเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าคำสั่งบรรทัดนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปทางซ้ายแล้ว ในทุกครั้งที่เครื่องหมาย cursor เลื่อนไปที่ตำแหน่งขวาสุดของบรรทัด คำสั่งจะถูกเลื่อนไปทางซ้ายอีก 10 ตัวอักษรทุกครั้งไป อย่างไรก็ตามข้อความที่แสดงให้เห็นอาจแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ Cisco IOS Software รุ่นที่ใช้งานอยู่ในเครื่องนั้นๆ

การดูคำสั่งที่ใช้ไปแล้วใน Router
             ส่วนติดต่อผู้ใช้ยังมีขีดความสามารถในการจดจำคำสั่งที่ใช้งานไปแล้ว ความสามารถนี้จะมีประโยชน์ในการเรียกใช้คำสั่งที่ได้ใช้งานไปแล้วซ้ำอีกซึ่งอาจมีความซับซ้อนทำให้ไม่สามารถจดจำได้โดยง่าย ความสามารถนี้ช่วยในการทำงานต่อไปนี้ให้สำเร็จได้
  • กำหนดขนาดของบัฟเฟอร์สำหรับคำสั่งที่ใช้งานไปแล้ว
  • เรียกใช้คำสั่งซ้ำ
  • ยกเลิกการบันทึกคำสั่งที่ใช้งานไปแล้ว
          โดยปกติแล้วบันทึกคำสั่งที่ใช้งานไปแล้วจะถูกกำหนดให้ทำงานอยู่เสมอซึ่งระบบจะจดจำคำสั่งที่ได้ใช้ งานไปแล้วจำนวน 10 คำสั่งหลังสุดไว้ในบัฟเฟอร์ การเลี่ยนแปลงจำนวนคำสั่งที่ระบบจะจดจำไว้ในระหว่างการ login เข้ามาในช่วงเวลาหนึ่ง (เรียกว่า terminal session) ให้ใช้คำสั่ง “terminal history size” หรือ “history size” จำนวนสูงสุดที่เป็นไปได้คือ 256 คำสั่ง
คำสั่ง
คำอธิบาย
Ctrl+p
การกดแป้นพิมพ์นี้ หรือใช้ปุ่มลูกศรชี้ขึ้นจะทำการเรียกคำสั่งที่ถูกสั่งใช้งานไปแล้วมาจากบัฟเฟอร์
Ctrl+n
การกดแป้นพิมพ์นี้ หรือใช้ปุ่มลูกศรชี้ลงจะทำการเรียกคำสั่งที่ถูกใช้งานไปแล้วครั้งล่าสุดมาจากบัฟเฟอร์
Show history
จะแสดงคำสั่งที่ถูกบันทึกไว้ทั้งหมด
terminal history
[size number-of-lines]
กำหนดขนาดของบัฟเฟอร์
terminal no editing
ยกเลิกการบันทึกคำสั่งที่ใช้งานไปแล้ว
Router> terminal editing
กำหนดให้ทำการบันทึกคำสั่งที่ใช้งานไปแล้ว
Tab
ทำให้คำสั่งที่กำลังป้อนเข้าไปนั้นเสร็จสิ้น
          ในการเรียกใช้คำสั่งที่บันทึกอยู่ในบัฟเฟอร์ออกมาใช้ให้กดแป้น Ctrl+p เมื่อยังคงกดแป้นนี้ซ้ำ   หรือใช้แป้นลูกศรชี้ขึ้นก็จะเป็นการเรียกคำสั่งย้อนหลังไปทีละลำดับ เมื่อต้องการเรียกคำสั่งที่ใหม่กว่าเดิมก็ให้กดแป้น Ctrl+n  หรือแป้นลูกศรชี้ลง

           วิธีการที่จะช่วยให้การพิมพ์คำสั่งเข้าไปสั้นลง คือ ให้พิมพ์ตัวอักษรที่เป็นคำเฉพาะสำหรับคำสั่งนั้นแล้วให้กดปุ่ม Tab ซึ่งส่วนติดต่อผู้ใช้จะทำการเติมคำสั่งนั้นให้เต็มให้โดยอัตโนมัติ
            
           ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะมีคำสั่งในการเลือกและทำสำเนาไว้ให้ใช้ คำสั่งที่ได้เคยใช้แล้วนั้นจะสามารถทำสำเนาแล้วใส่เข้ามาในคำสั่งปัจจุบันได้










0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น