สถานะ privileged EXEC mode ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับ
Router การที่จะเลือกสถานะใดขึ้นอยู่กับความต้องการในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่ากำหนดให้แก่
Router ในสถานะ privileged EXEC mode จะสามารถเข้าสู่สถานะอื่นๆ
ได้
วิธีการเข้าสู่ Privileged
Exec Mode ได้แก่ การใช้คำสั่ง “enable” (หรือพิมพ์คำย่อยว่า “en”) ขณะที่ยังอยู่ใน User
Exec Mode แต่ส่วนใหญ่เมื่อกำลังจะเข้าสู่ Privileged Exec
Mode มักจะได้รับการร้องขอให้ใส่รหัสผ่าน
Router> enable
Password:
หรือ
Router> en
Password:
หากสามารถใส่รหัสผ่านได้ถูกต้อง
จะได้เห็น Prompt ใหม่เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า
สามารถเข้าสู่โหมดนี้ได้แล้ว จะได้เห็นชื่อของ Router รวมทั้งเครื่องหมายของ
Prompt ที่เป็นรูป # เช่น
myrouter#
Privileged EXEC Mode จะทำให้สามารถ
Access เข้าไปที่โหมดต่างๆ ของ Router ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดของระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่
ต่อไปนี้เป็นคำสั่งที่สามารถนำมาใช้งานได้บน Privileged EXEC Mode
ตาราง
แสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ Privileged EXEC
Mode
คำสั่ง
|
คำอธิบาย
|
access-enable
|
สร้าง access
list entry ขึ้นมาเป็นการชั่วคราว
|
access-template
|
สร้าง access
list entry ขึ้นมาเป็นการชั่วคราว
|
appn
|
เป็นคำสั่งปิดท้ายสำรับการส่งคำสั่งไปยัง APPN subsystem
|
atmsig
|
ทำการส่งสัญญาณ ATM signal
|
bfe
|
กำหนดใช้ manual
emergency mode
|
calendar
|
จัดการแก้ไขปฏิทินที่ฝังอยู่ในฮาร์ดแวร์
|
cd
|
ทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่กำลังทำงานอยู่
|
clear
|
Reset functions
|
clock
|
จัดการแก้ไขเวลาที่ฝังอยู่ในฮาร์ดแวร์
|
cmt
|
สั่งให้ฟังก์ชันจัดการการเชื่อมต่อระบบ FDDI เริ่มต้นทำงานหรือหยุดทำงาน
|
configure
|
เข้าสู่สถานะการตั้งค่ากำหนด
|
connect
|
เริ่มการเชื่อมต่อเข้ากับเทอร์มินอล
|
copy
|
ทำสำเนาการตั้งค่ากำหนด หรือ image data
|
debug
|
ใช้ฟังก์ชัน debugging
|
delete
|
ลบไฟล์ทิ้ง
|
dir
|
แสดงรายชื่อไฟล์ในอุปกรณ์ที่กำลังใช้งานอยู่
|
disable
|
ยกเลิกการใช้คำสั่งประเภท privileged commands
|
disconnect
|
ยกเลิกการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย
|
enable
|
เริ่มต้นการใช้คำสั่งประเภท privileged commands
|
erase
|
ลบข้อมูลใน Flash
memory หรือ configuration memory
|
exit
|
ออกจาก EXEC mode
|
format
|
ทำการ format อุปกรณ์
|
help
|
เรียกระบบช่วยเหลือผู้ใช้ขึ้นมาทำงาน
|
lat
|
เปิดช่องสื่อสาร LAT connection
|
lock
|
ทำการล็อคเทอร์มินอล
|
login
|
Login เข้าสู่ระบบ
|
logout
|
ออกจาก EXEC mode
|
mbranch
|
ทำการค้นหาเส้นทาง multitrace route ลงไปตามเส้นทางใน tree
branch
|
mrbranch
|
ทำการค้นหาเส้นทาง multitrace route ย้อนกลับขึ้นมาตามเส้นทางใน
tree branch
|
mrinfo
|
ร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับโหนดข้างเคียงและรุ่นของ Router ประเภท multicast router
|
mstat
|
แสดงข้อมูลทางสถิติหลังจากการทำ multicast traceroutes หลายครั้ง
|
mtrace
|
ทำการค้นหาเส้นทางย้อนกลับจากเป้าหมายมายังแหล่งกำเนิดข้อมูล
|
name-connection
|
ตั้งชื่อการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายที่มีอยู่
|
ncia
|
สั่งให้ NCIA
server เริ่มต้นทำงาน หรือหยุดการทำงาน
|
pad
|
เริ่มการสื่อสาร X.29 PAD connection
|
ping
|
ส่งข้อความที่ต้องการให้ผู้รับส่งย้อนกลับมา
|
ppp
|
เริ่มต้นการทำงานของโปรโตคอล IETF Point-to-Point Protocol (PPP)
|
pwd
|
แสดงอุปกรณ์ที่กำลังใช้งานอยู่
|
reload
|
สั่งให้ Router หยุดทำงานแล้วเริ่มต้นทำงานใหม่ตั้งแต่ต้น
|
resume
|
กลับมาใช้การเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายที่เคยใช้งานอยู่
|
rlogin
|
เริ่มต้นการใช้งาน rlogin connection
|
rsh
|
ทำการประมวลผลคำสั่งระยะไกล (ในอุปกรณ์ตัวอื่น)
|
sdlc
|
ทำการส่งเฟรมสำหรับทดสอบข้อมูล SDLC
|
send
|
จัดการส่งข้อมูลออกไปทางสาย tty
|
setup
|
สั่งให้ส่วนที่ช่วยในการ setup command facility ทำงาน
|
show
|
แสดดงข้อมูลของระบบที่กำลังใช้งานอยู่
|
slip
|
เริ่มต้นการทำงาน Serial Line IP (SLIP)
|
squeeze
|
Squeeze a device
|
start-chat
|
เริ่มทำคำสั่ง chat script ในการสื่อสาร
|
systat
|
แสดงข้อมูลเกี่ยวกับสายเชื่อมต่อเทอร์มินอล
|
tarp
|
คำสั่งสำหรับ Targetds
ID Resolution Process (TARP) command
|
telnet
|
เริ่มต้นการทำงาน Telnet connection
|
terminal
|
ทำการกำหนดค่าพารามิเตอร์ให้กับสายเทอร์มินอล
|
test
|
ทำการทดสอบการทำงานของ subsystems, หน่วยความจำ และส่วนเชื่อมต่อ
|
tn3270
|
เริ่มต้นทำการทำงาน TN3270 connection
|
traceroute
|
ทำการค้นหาเส้นทางไปยังเป้าหมาย
|
tunnel
|
เริ่มต้นการทำงาน tunnel connection
|
undebug
|
ยกเลิกการใช้ debugging
functions
|
undelete
|
ยกเลิกการลบไฟล์
|
verify
|
ทำการตรวจสอบ checksum
ของ Flash file
|
where
|
แสดงรายการการเชื่อมต่อที่ยังคงทำงานอยู่
|
which-route
|
ทำการตรวจสอบข้อมูลใน OSI route table และแสดงผลที่ได้
|
write
|
ทำการบันทึกค่ากำหนดที่กำลังใช้งานอยู่ในหน่วยความจำ, ระบบเครือข่าย, หรือเทอร์มินอล
|
x3
|
กำหนดพารามิเตอร์ X.3 ให้แก่ PAD
|
xremote
|
เข้าสู่ Xremote
mode
|
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น