วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Interface ต่างๆ

           Router จะมีพอร์ตหรือ Interface ต่างๆ สำหรับติดตั้งสายสัญญาณเข้ากับ Router  เพื่อใช้ในการกำหนดค่าการใช้งานและเป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละรุ่นของ Routerโดยพอร์ตหรือ Interface ที่ควรทำความรู้จัก ได้แก่
1. Ether Port
2. Serial Port
3. Console Port
4. Auxiliary Port
 
          Interface บน Router จะมีชื่อเรียกที่ต่างกัน ซึ่ง Router ของ Cisco จะใช้อักษร E แทน Ethernet Port,   F แทน Fast Ethernet Port, G แทน Gigabit Ethernet Port, S แทน Serial Port โดยมีตัวเลขต่อท้าย เช่น E0 หมายถึง Ethernet Port ที่หนึ่ง ส่วน S0 หมายถึง Serial Port ที่หนึ่ง ถ้า S1 คือ Serial Port ที่สอง เป็นต้น และเมื่อนำ Router  2 ตัว มาเชื่อมโยงกันระหว่างสองเครือข่าย คือ เครือข่ายของสำนักงาน A กับเครือข่ายของสำนักงาน B จะเกิดเครือข่ายขึ้นทั้งหมด 3 เครือข่าย ได้แก่     

1. เครือข่ายสำนักงาน A ซึ่งเป็นเครือข่ายแลน ใช้ไอพีแอดเดรสคลาส C หมายเลขเครือข่าย 192.168.1.0 ซับเน็ตมาส์ก 255.255.255.0 โดยนำไอพีแอดเดรสหมายเลข 192.168.1.1 มากำหนดเป็นเกตเวย์ไว้บน Router  A ที่พอร์ต E0

2. เครือข่ายสำนักงาน B ซึ่งเป็นเครือข่ายแลน ใช้ไอพีแอดเดรสคลาส C หมายเลขเครือข่าย 192.168.2.0 ซับเน็ตมาส์ก 255.255.255.0 โดยนำไอพีแอดเดรสหมายเลข 192.168.2.1 มากำหนดเป็นเกตเวย์ไว้บน Router  B ที่พอร์ต E0

3. เครือข่ายของ Router ทั้งสองตัวซึ่งเป็นเครือข่ายแวน โดย Router  A ถูกกำหนดไอพีแอดเดรสหมายเลข 192.168.0.101 ซับเน็ตมาส์ก 255.255.255.252 ไว้ที่พอร์ต S0 ส่วน Router  B ถูกกำหนดไอพีแอดเดรสหมายเลข 192.168.0.102 ซับเน็ตมาส์ก 255.255.255.252 ไว้ที่พอร์ต S0


การเชื่อมโยง Router สองเครือข่าย
          ก่อนการกำหนดค่าการใช้งานและเพิ่มเส้นทางข้อมูลลงใน Routing Table ของ Router ทั้งสองตัว คอมพิวเตอร์ในแต่ละเครือข่ายจะติดต่อหากันภายในเครือข่ายของตนเองเท่านั้น แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลหรือติดต่อออกนอกเครือข่ายผ่าน Router ได้ เนื่องจากเครือข่ายทั้งหมดไม่ได้ใช้ไอพีแอดเดรสในซับเน็ตเดียวกัน และยังไม่ได้กำหนดเส้นทางข้อมูลลงใน Routing Table ของ Router ทั้งสองตัว หรือกล่าวง่ายๆ ว่า Router  A และ B ยังไม่รู้จักเส้นทางข้อมูลใดๆ ดังนั้นเราต้องกำหนดเส้นทางข้อมูลลงใน Routing Table ของ Router ทั้งสองตัว

Note:
           ซับเน็ตมาส์ก 255.255.255.252 คือ ซับเน็ตมาส์กที่ถูกแบ่งซับเน็ตเพื่อให้ใช้ไอพีแอดเดรสได้แค่สองหมายเลข เนื่องจากไอพีแอดเดรสที่กำหนดบน Router ทั้งสองตัวที่พอร์ต S0 มีเพียงสองหมายเลข ฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ซับเน็ตมาส์ก 255.255.255.0 ที่สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสได้ถึง 254 หมายเลข (ไม่รวมหมายเลขเครือข่ายและบรอดคาสต์แอดเดรสอีกสองหมายเลข และยังเป็นการประหยัดไอพีแอดเดรสเพื่อนำไปกำหนดให้ Router เครือข่ายอื่นๆ ส่วนการเชื่อมโยง Router ขององค์กรไปยัง Router ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะคัดสรรไอพีแอดเดรสสำหรับนำมากำหนดบน Router ทั้งสองตัวที่พอร์ต S0 ให้เอง

1 ความคิดเห็น:

  1. พี่ครับ ถ้าผมเปลี่ยนจาก "...เนื่องจากเครือข่ายทั้งหมดไม่ได้ใช้ไอพีแอดเดรสในซับเน็ตเดียวกัน..."
    เป็นไม่ได้ใช้ Gateway เดียวกัน ความหมายเหมือนกันมั้ยครับ

    ตอบลบ