การกำหนดค่าการใช้งานพร้อมกับการเพิ่มเส้นทางข้อมูลให้กับ
Router ในครั้งแรก เราต้องใช้วิธีการกำหนดผ่านสายคอนโซล แล้วพิมพ์คำสั่งพร้อมพารามิเตอร์ต่างๆ
ทีละบรรทัด หรือที่เรียกว่า CLI (Command Line
Interface) บนโปรแกรมประเภทเทอร์มินัล เช่น Hyper Terminal ซึ่งคำสั่งต่างๆ ถูกแบ่งออกเป็นโหมด
โดยในแต่ละโหมดก็จะมีคำสั่งที่มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับโหมดคำสั่งที่ควรรู้จัก ได้แก่
User EXEC Mode เป็นโหมดแรกที่ต้องเจอเมื่อเข้าทำการกำหนดค่าการใช้งาน Router โหมดนี้จะมีคำสั่งให้ใช้งานแบบพื้นฐาน เช่น
ตรวจดูสถานการณ์ทำงานทั่วไปของ Router ด้วยคำสั่ง show ซึ่งมีเครื่องหมายพร็อมต์
“>” ต่อท้ายชื่อ Router เพื่อแสดงไว้เป็นสัญลักษณ์ว่ากำลังอยู่ใน User
EXEC Mode
Privileged EXEC Mode เป็นโหมดที่ใช้เริ่มการปรับตั้งค่าการใช้งานให้กับ Router รวมทั้งการมอนิเตอร์ดูสถานะของ
Interface ซึ่งการเข้าใช้โหมด Privileged EXEC Mode
จะต้องใช้คำสั่ง enable ขณะที่กำลังอยู่ใน User
EXEC Mode และถ้าได้ตั้งรหัสผ่านไว้ Router จะให้ใส่รหัสผ่านก่อนเสมอ
จากนั้นเข้าสู่ Privileged EXEC Mode โดยเครื่องหมายพร็อมต์หลังชื่อ
Router จะเปลี่ยนเป็น ‘#’
Global Configuration Mode เป็นโหมดที่มีระดับลึกว่า Privileged EXEC Mode รวมทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าไปยังโหมดย่อยของ
Global Configuration Mode ซึ่งเครื่องหมายพร็อมต์ที่แสดงเป็นสัญลักษณ์ว่ากำลังอยู่ใน
Global Configuration Mode คือ “(config)#”
Interface Configuration Mode ใช้สำหรับกำหนดค่าให้กับ Interface บางตัว
เช่น กำหนดไอพีแอดเดรสให้พอร์ต S0 โดยเครื่องหมายพร็อมต์จะเปลี่ยนเป็น
“(config-if)#” ซึ่งเปลี่ยนเข้า Interface
Configuration Mode ได้ด้วยคำสั่ง interface หรือ
int ตามด้วยชื่อ Interface ที่ต้องการ
เช่น interface s0 ส่วนการกลับไปสู่ Global
Configuration Mode ให้ใช้คำสั่ง exit
Routing Configuration Mode เป็นโหมดที่ใช้จัดการเรื่องของโปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing
Protocol) โดยเปลี่ยนเข้า Routing Configuration Mode ด้วยคำสั่ง router ตามด้วยโปรโตคอลที่จะใช้ เช่น
router rip ขณะที่อยู่ใน Global Configuration Mode จากนั้นเครื่องหมายพร็อมต์จะเปลี่ยนเป็น “(config-router)#”
Line
Configuration Mode สำหรับกำหนดค่าต่างๆ ให้กับ
Interface ที่รองรับการติดต่อเข้ามายัง Router เช่น กำหนดรหัสผ่านให้กับ Line
VTY (Line Virtual TeleType) หมายถึงช่องทางติดต่อกับ Router
โดยวิธีเทลเน็ต หรือ Line Console หมายถึง
ช่องทางติดต่อกับ Router ผ่านโปรแกรมเทอร์มินัล
ซึ่งสามารถเปลี่ยนเข้า Line Configuration Mode ได้ด้วยคำสั่ง
line ตามด้วยชื่อไลน์ Interface เช่น line vty 0 4 (สำหรับเทลเน็ต)
หรือ line consle 0 (สำหรับสายคอนโซล)
ขณะที่อยู่ใน Global Configuration Mode แล้วเครื่องหมายพร็อมต์จะเปลี่ยนเป็น
“(config-line)#”
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น