วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ตัวอย่างคำสั่งการเชื่อมต่อแบบ static

         การกำหนดเส้นทางข้อมูลแบบสเตติกหรือแบบคงที่ ก็คือ การกำหนดเส้นทางแบบตายตัวได้กับ Router โดยพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งจะอ้างอิงการเชื่อมโยง Router


 คำสั่งสำหรับ Router A
1. Router>enable
2. Router#config terminal
3. Router(config)#hostname Router-A
4. Router-A(config)#line onsole 0
5. Router-A(config-line)#password 123456
6. Router-A(config-line)#login
7. Router-A(config-line)#exit
8. Router-A(config)#interface s0
9. Router-A(config-if)#ip address 192.168.0.101            255.255.255.252
10. Router-A(config-if)#bandwidth 64
11. Router-A(config-if)#encapsulation ppp
12. Router-A(config-if)#no shutdown
13. Router-A(config-if)#exit
14. Roter-A(config)#interface e0
15. Router-A(config-if)#ip address 192.168.1.1       255.255.255.0
16. Router-A(config-if)#no shutdown
17. Router-A(config-if)#exit
18. Router-A(config)#ip route 192.168.2.0       255.255.255.0     192.168.0.102
19. Router-A(config)#exit
20. Router-A#wr mem

อธิบายคำสั่งบน Router A
ขั้นตอนที่ 1          เปลี่ยนโหมดเป็น Privileged EXEC Mode เพื่อเริ่มกำหนดค่าการใช้งาน จากนั้นเครื่องหมายพร็อมต์จะเปลี่ยนจาก > เป็น # (คำสั่งย่อคือ en)
ขั้นตอนที่ 2          คือคำสั่งที่จะเข้าไปกำหนดค่าผ่านเทอร์มินัล หรือผ่าน Console Port แล้ว เครื่องหมายพร็อมต์จะเปลี่ยนเป็น (config)# แสดงว่าได้เข้าสู่ Global Configuration Mode (คำสั่งย่อ คือ conf t)
ขั้นตอนที่ 3          กำหนดชื่อ Router ด้วยคำสั่ง hostname ตามด้วยชื่อที่ต้องการ เช่น Router-A
ขั้นตอนที่ 4          เป็นคำสั่งที่ใช้จัดการ Interface  Console Port
ขั้นตอนที่ 5          ตั้งรหัสผ่านด้วยคำสั่ง password ตามด้วยรหัสผ่านที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 6          กำหนดให้ผู้ใช้ต้องระบุรหัสผ่านตามที่ได้ตั้งไว้
ขั้นตอนที่ 7          ออกจากการกำหนดรหัสผ่านให้ Console Port
ขั้นตอนที่ 8          กำหนดค่าให้ Interface  s0 (คำสั่งย่อคือ int s0)
ขั้นตอนที่ 9          กำหนดไอพีแอดเดรสให้ Interface  s0 ด้วยคำสั่ง ip address ตามด้วยหมายเลขไอพีแอดเดรสและซับเน็ตมาสก์
ขั้นตอนที่ 10        กำหนดความเร็วในการรับส่งข้อมูลของสายลีสไลน์ด้วยคำสั่ง bandwidth ตามด้วยความเร็ว ในที่นี้คือ 64 กิโลบิตต่อวินาที
ขั้นตอนที่ 11        เลือกรูปแบบการเชื่อมต่อระหว่าง Router ทั้งสองตัวด้วยคำสั่ง encapsulation ตามด้วยรูปแบบการเชื่อมต่อ ในที่นี้คือ ppp (คำสั่งย่อคือ encap ppp)
ขั้นตอนที่ 12        ให้ Interface  s0 เริ่มทำงาน (คำสั่งย่อคือ no shut)
ขั้นตอนที่ 13        ออกจากการกำหนดค่าให้ Interface  s0
ขั้นตอนที่ 14        กำหนดค่าให้ Interface  e0 (คำสั่งย่อคือ int e0)
ขั้นตอนที่ 15        กำหนดไอพีแอดเดรสให้ Interface  e0 ด้วยคำสั่ง ip address ตามด้วยหมายเลขไอพีแอดเดรสและซับเน็ตมาสก์ 
ขั้นตอนที่ 16        ให้ Interface  e0 เริ่มทำงาน (คำสั่งย่อคือ no shut)
ขั้นตอนที่ 17        ออกจากการกำหนดค่าให้ Interface  e0
ขั้นตอนที่ 18        กำหนดเส้นทางข้อมูลหรือกำหนดเกตเวย์ให้ Router ด้วยคำสั่ง ip route ตามด้วยไอพีแอดเดรสที่เป็นหมายเลขเครือข่ายของเครือข่ายฝั่งตรงข้ามพร้อมทั้งซับเน็ตมาสก์ และตามด้วยไอพีแอดเดรสบน Interface  s0 ของ Router  B (หรือก็คือเกตเวย์ของ Router  A) ซึ่งในที่นี้ก็คือ 192.168.0.102 ดังนั้นจึงเขียนคำสั่งได้ว่า ip route 192.168.2.0       255.255.255.0      192.168.0.102 หมายความว่าเมื่อมีการติดต่อกับเครือข่าย 192.168.2.0 ให้ Router  A ส่งข้อมูลออกไปทางเกตเวย์หมายเลข 192.168.0.102
ขั้นตอนที่ 19        ออกจาก Global Configuration Mode
ขั้นตอนที่ 20        บันทึกค่าต่างๆ ลงในหน่วยความจำของ Router  (คำสั่งเต็มคือ write memory)

คำสั่งสำหรับ Router B
1. Router>enable
2. Router#config terminal
3. Router(config)#hostname Router-B
4. Router-B(config)#line onsole 0
5. Router-B(config-line)#password 123456
6. Router-B(config-line)#login
7. Router-B(config-line)#exit
8. Router-B(config)#interface s0
9. Router-B(config-if)#ip address 192.168.0.102            255.255.255.252
10. Router-B(config-if)#bandwidth 64
11. Router-B(config-if)#encapsulation ppp
12. Router-B(config-if)#no shutdown
13. Router-B(config-if)#exit
14. Roter-A(config)#interface e0
15. Router-B(config-if)#ip address 192.168.2.1       255.255.255.0
16. Router-B(config-if)#no shutdown
17. Router-B(config-if)#exit
18. Router-B(config)#ip route 192.168.1.0       255.255.255.0     192.168.0.101
19. Router-B(config)#exit
20. Router-B#wr mem

อธิบายคำสั่งบน Router B
ขั้นตอนที่ 1          เปลี่ยนโหมดเป็น Privileged EXEC Mode เพื่อเริ่มกำหนดค่าการใช้งาน จากนั้นเครื่องหมายพร็อมต์จะเปลี่ยนจาก > เป็น # (คำสั่งย่อคือ en)
ขั้นตอนที่ 2          คือคำสั่งที่จะเข้าไปกำหนดค่าผ่านเทอร์มินัล หรือผ่าน Console Port แล้ว เครื่องหมายพร็อมต์จะเปลี่ยนเป็น (config)# แสดงว่าได้เข้าสู่ Global Configuration Mode (คำสั่งย่อ คือ conf t)
ขั้นตอนที่ 3          กำหนดชื่อ Router ด้วยคำสั่ง hostname ตามด้วยชื่อที่ต้องการ เช่น Router-B
ขั้นตอนที่ 4          เป็นคำสั่งที่ใช้จัดการ Interface  Console Port
ขั้นตอนที่ 5          ตั้งรหัสผ่านด้วยคำสั่ง password ตามด้วยรหัสผ่านที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 6          กำหนดให้ผู้ใช้ต้องระบุรหัสผ่านตามที่ได้ตั้งไว้
ขั้นตอนที่ 7          ออกจากการกำหนดรหัสผ่านให้ Console Port
ขั้นตอนที่ 8          กำหนดค่าให้ Interface  s0 (คำสั่งย่อคือ int s0)
ขั้นตอนที่ 9          กำหนดไอพีแอดเดรสให้ Interface  s0 ด้วยคำสั่ง ip address ตามด้วยหมายเลขไอพีแอดเดรสและซับเน็ตมาสก์
ขั้นตอนที่ 10        กำหนดความเร็วในการรับส่งข้อมูลของสายลีสไลน์ด้วยคำสั่ง bandwidth ตามด้วยความเร็ว ในที่นี้คือ 64 กิโลบิตต่อวินาที
ขั้นตอนที่ 11        เลือกรูปแบบการเชื่อมต่อระหว่าง Router ทั้งสองตัวด้วยคำสั่ง encapsulation ตามด้วยรูปแบบการเชื่อมต่อ ในที่นี้คือ ppp (คำสั่งย่อคือ encap ppp)
ขั้นตอนที่ 12        ให้ Interface  s0 เริ่มทำงาน (คำสั่งย่อคือ no shut)
ขั้นตอนที่ 13        ออกจากการกำหนดค่าให้ Interface  s0
ขั้นตอนที่ 14        กำหนดค่าให้ Interface  e0 (คำสั่งย่อคือ int e0)
ขั้นตอนที่ 15        กำหนดไอพีแอดเดรสให้ Interface  e0 ด้วยคำสั่ง ip address ตามด้วยหมายเลขไอพีแอดเดรสและซับเน็ตมาสก์ 
ขั้นตอนที่ 16        ให้ Interface  e0 เริ่มทำงาน (คำสั่งย่อคือ no shut)
ขั้นตอนที่ 17        ออกจากการกำหนดค่าให้ Interface  e0
ขั้นตอนที่ 18        กำหนดเส้นทางข้อมูลหรือกำหนดเกตเวย์ให้ Router ด้วยคำสั่ง ip route ตามด้วยไอพีแอดเดรสที่เป็นหมายเลขเครือข่ายของเครือข่ายฝั่งตรงข้ามพร้อมทั้งซับเน็ตมาสก์ และตามด้วยไอพีแอดเดรสบน Interface  s0 ของ Router  A (หรือก็คือเกตเวย์ของ Router  B) ซึ่งในที่นี้ก็คือ 192.168.0.101 ดังนั้นจึงเขียนคำสั่งได้ว่า ip route 192.168.1.0       255.255.255.0      192.168.0.101 หมายความว่าเมื่อมีการติดต่อกับเครือข่าย 192.168.1.0 ให้ Router  B ส่งข้อมูลออกไปทางเกตเวย์หมายเลข 192.168.0.101
ขั้นตอนที่ 19        ออกจาก Global Configuration Mode
ขั้นตอนที่ 20        บันทึกค่าต่างๆ ลงในหน่วยความจำของ Router  (คำสั่งเต็มคือ write memory)
จากนี้ถือว่าทั้งสองเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้แล้ว โดยทดสอบได้จากการคำสั่ง ping ไปยังคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายตรงข้าม แต่ที่สำคัญต้องระบุเกตเวย์ลงไปด้วย ซึ่งเกตเวย์นั้น ก็คือไอพีแอดเดรสของ Interface  E0 บน Router ในเครือข่ายของตนเอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น